ข่าว

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

งานเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าและก๊าซ

งานเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าและก๊าซ

การเชื่อม (WELDING) คือการต่อโลหะให้ติดกัน โดยให้ความร้อนจนโลหะนั้น หลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยจะใช้ลวดเชื่อม หรือไม่ใช้ก็ได้ และจะใช้แรงกดดัน หรือไม่ก็ได้
กระบวนการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อม
การเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อม (SMAW) คือกระบวนการเชื่อมที่อาศัยความร้อนจากการอาร์คระหว่าง ลวดเชื่อมโลหะ
มีสารพอกหุ้มกับชิ้นงาน ทำให้ลวดเชื่อมและชิ้นงานบริเวณการอาร์คหลอมละลายรวมตัวกันเป็นแนวเชื่อม และสารพอกหุ้มจะเกิดเป็นก๊าซ และสแล็ค ปกคลุมแนวเชื่อมจากบรรยากาศภายนอก
เครื่องมือ และอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมนี้ มี 1. เครื่องเชื่อม 2. สายไฟเชื่อม3. หัวจับลวดเชื่อม4. คีมจับสายดิน 5. ลวดเชื่อม
ในปัจจุบัน การนำไปใช้งาน กระบวนการเชื่อมนี้เป็นที่นิยมมาก สามารถเชื่อมได้ทั้งโลหะจำพวกเหล็กและที่ไม่ใช่เหล็ก เกือบทุกชนิดที่มีใช้ในงานอุตสาหกรรมปัจจุบัน ซึ่งสามารถเชื่อมโลหะบางตั้งแต่ 1.2 มม.ขึ้นไปโดยไม่จำกัดความหนา (หนาเกิน 6มม. ขึ้นไปต้องบากขอบงาน และใช้เทคนิคการเชื่อมหลายแนว) ในทุกตำแหน่งท่าเชื่อมงานที่ใช้ เช่น งานโครงสร้างอาคารงานต่อเรือ สะพาน งานซ่อมสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น การเริ่มต้นอาร์คและควบคุมแนวเชื่อม
1. ปรับเครื่องเชื่อม - ขั้วไฟ : DCSP (E 6012) : AC (E 6013) - กระแสไฟ 70 - 90 แอมป์ (2.6 มม.) 80 - 100 แอมป์ (3.2 มม.)2. เตรียมงาน - ทำความสะอาด และตกแต่งชิ้นงาน - ขีดเส้นตามรูป แล้วตอกนำศูนย์ห่าง - จัดวางชิ้นงานบนโต๊ะงานในตำแหน่งทำราบ3. เริ่มต้นอาร์ค มี 2 วิธีวิธีที่ 1 วิธีการขีดหรือเขี่ย - ถือลวดเชื่อมเอียงไปตามแนวที่จะขีดแล้วแตะปลายลวดเชื่อมลงบนชิ้นงานเบา ๆ พร้อมกับลากไปตามผิวงานช้า ๆ - ยกลวดเชื่อมขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการอาร์ควิธีที่ 2 วิธีเคาะ หรือแตะ - ถือลวดเชื่อมในตำแหน่งตั้งฉากกับชิ้นงานกดลวดเชื่อมลงไปเคาะ หรือแตะกับชิ้นงานแล้วยกขึ้น - ยกลวดเชื่อมขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการอาร์คข้อควรระวัง + ลวดเชื่อมจะติดกับชิ้นงาน + เมื่อลวดเชื่อมติดชิ้นงานให้โยกลวดเชื่อมไปทางซ้ายขวา หรือปิดเครื่องเชื่อมแล้วโยกออก อย่าปลดลวดเชื่อมจากที่จับลวดเชื่อม ทันทีจะเกิดการอาร์คที่ปากจับลวดเชื่อม4. เชื่อม - เมื่อเกิดการอาร์ค แล้วเคลื่อนลวดเชื่อมมาที่ขอบงานบริเวณที่จะเชื่อม - ยกลวดเชื่อมให้ระยะอาร์คประมาณ2 เท่าความโตลวดเพื่ออุ่นชิ้นงาน - กดระยะอาร์คลงเท่าความโตลวดพร้อมกับเอียงลวดเชื่อมเป็นมุมประมาณ 5 - 15 - สร้างบ่อหลอมละลายกว้างประมาณ1 1/2 - 2 เท่าความโตลวดเชื่อมแล้วค่อย ๆ เดินลวดเชื่อมอย่างคงที่สม่ำเสมอ ได้ยาวประมาณ 40 มม.หยุดการเชื่อมข้อสังเกต + ถ้าการอาร์คค่อย และบ่อหลอมละลายแคบแสดงว่าตั้งกระแสต่ำไป + ถ้าการอาร์ครุนแรงมากบ่อหลอมละลายโตมากจนควบคุมไม่ทันแสดงว่าตั้งกระแสสูงไป - เคาะสแลคออกจากแนวเชื่อมทำความสะอาด - เริ่มเชื่อมเหมือนเดิม บนเส้นเดียวกันที่เว้นไป 1 ช่อง เชื่อมยาวประมาณ 40 มม. - หมุนชิ้นงานกลับทาง แล้วเริ่มต้นเชื่อมแนวแรก (เชื่อมจนเต็มแผ่นงาน) - เริ่มต้นเชื่อมในช่องว่าง โดยเริ่มต้นอาร์คที่ประมาณ 5 มม. บนแนวเชื่อมหลังแอ่งปลายแนวเชื่อมเมื่ออุ่นงานแล้วเคลื่อนลวดเชื่อมมาที่แอ่งปลาย แนวเชื่อมลดระยะอาร์คลงมาแล้วเดินแนวจนชนแนวเชื่อมต่อไป (เชื่อมจนเต็มแผ่น)ข้อควรระวัง + เมื่อเชื่อมไปหลาย ๆ แนวงานจะร้อนแนวเชื่อมจะเลาะควรจุ่มน้ำบ้างหมายเหตุ + ตรวจสอบแนวเชื่อม โดยตรวจกับครูทุกแนวที่เชื่อมเสร็จ5. ตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นงาน 1. ขนาดแนวเชื่อม ความสูงความกว้าง2. ลักษณะแนวเชื่อม - ความเรียบสม่ำเสมอ - จุดเริ่มต้นเชื่อม รอยต่อ3. การทำความสะอาด และตกแต่งชิ้นงาน - การทำความสะอาด และร่างแบบ - การขจัดสแลค เม็ดโลหะกระเด็น

1 ความคิดเห็น: